กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดพะเยา ลงพื้นที่ส่งมอบปัจจัยการผลิตโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(งบกู้ยืม) ประจำปีงบประมาณ 2567

วันที่ 9 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 น. นางณิชาภา ไชยยา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพะเยา มอบหมายให้ นางพัชรินทร์ พริบไหว พนักงานทั่วไป ,นายศุภกร อ้อยยาว ลูกจ้างโครงการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ฯ และนายนวพล สุวรรณ ลูกจ้างกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่ส่งมอบปัจจัยการผลิต ให้กับกลุ่มเยาวชนสหกรณ์นิคมเชียงคำ สาขาบ้านปงใหม่ ซึ่งองค์กรได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบกู้ยืม ประจำปีงบประมาณ 2567 งวดที่ 2/4 งบประมาณที่ขอเบิกจ่ายจำนวน 85,600 บาท ในโครงการเพาะเลี้ยงกบนา งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 500,000 บาท สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 9 คน พื้นที่ดำเนินโครงการฯ ณ ที่ทำการกลุ่มเลขที่ 191 หมู่ 8 ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา

กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดพะเยา ลงพื้นที่เพื่อติดตาม ตรวจเยี่ยมกิจกรรม และประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

วันที่ 7 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น. นางณิชาภา ไชยยา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพะเยา นายรัชชานนท์ เต็มสวัสดิ์ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป และนายศุภกร อ้อยยาว ลูกจ้างโครงการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ฯ ลงพื้นที่เพื่อติดตาม ตรวจเยี่ยมกิจกรรม และประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ขององค์กรเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบกู้ยืม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของกลุ่มร่วมแรงร่วมใจเกษตรกรพะเยา ซึ่งองค์กรได้รับอนุมัติโครงการปลูกข้าว งบประมาณ 300,000 บาท พื้นที่ดำเนินโครงการฯ หมู่ที่ 3 ตำบลลอ อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

ผลการดำเนินกิจกรรมตั้งแต่เดือนมกราคม -สิงหาคม 2567 ดังนี้

– ช่วงนี้อยู่ระหว่างการปลูกข้าวนาปี ข้าวหอมมะลิ ,กข 6,สันป่าตอง (ปลูก-หว่าน) รวมพื้นที่ จำนวน 155 ไร่

– สมาชิกในกลุ่มมีการเก็บเงินออมคนละ 150 บาท ต่อเดือน

กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดพะเยา ร่วมชี้แจงทำความเข้าใจก่อนการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรสมาชิก กฟก.

วันที่ 7 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น. นางณิชาภา ไชยยา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพะเยา ,นายรัชชานนท์ เต็มสวัสดิ์ ลูกจ้างกลุ่มงานทั่วไป และนายศุภกร อ้อยยาว ลูกจ้างโครงการเร่งรัดฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาจุน จังหวัดพะเยา เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจก่อนการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรสมาชิก กฟก. ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 22 มีนาคม 2565 และวันที่ 14 มีนาคม 2566 ณ หอประชุมสำนักงานธ.ก.ส. สาขาจุน อำเภอจุน จังหวัดพะเยา

กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดพะเยา ลงพื้นที่ส่งมอบปัจจัยการผลิตโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(งบกู้ยืม) ประจำปีงบประมาณ 2567

วันที่ 6 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น. นางณิชาภา ไชยยา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพะเยา นางพัชรินทร์ พริบไหว พนักงานทั่วไป ,นายศุภกร อ้อยยาว ลูกจ้างโครงการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ฯ และนายนวพล สุวรรณ ลูกจ้างกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่ส่งมอบปัจจัยการผลิตให้กับกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านสันปูเลย ซึ่งองค์กรได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบกู้ยืม ประจำปีงบประมาณ 2567 งวดที่ 2/5 งบประมาณที่ขอเบิกจ่ายจำนวน 100,000 บาท ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และแปรรูปผ้าทอไทยลื้อสู่สากล งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 500,000 บาท สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 15 คน พื้นที่ดำเนินโครงการฯ ณ ที่ทำการกลุ่มเลขที่ 130 หมู่ 8 ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จังหวัดพะเยา ลงพื้นที่เพื่อติดตาม ตรวจเยี่ยมกิจกรรม และประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

วันที่ 6 สิงหาคม 2567 เวลา 10.00 น. นางณิชาภา ไชยยา หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดพะเยา นางพัชรินทร์ พริบไหว พนักงานทั่วไป ,นายศุภกร อ้อยยาว ลูกจ้างโครงการเร่งรัดการแก้ไขปัญหาหนี้ฯ และนายนวพล สุวรรณ ลูกจ้างกลุ่มงานบริการ ลงพื้นที่เพื่อติดตาม ตรวจเยี่ยมกิจกรรม และประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร ขององค์กรเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ประเภทงบกู้ยืม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ของกลุ่มผู้ผลิตพืชไร่ หมู่ 9 ตำบลภูซาง ซึ่งองค์กรได้รับอนุมัติโครงการเลี้ยงวัวพันธุ์ลูกผสม งบประมาณ 458,000 บาท พื้นที่ดำเนินโครงการฯ หมู่ที่ 9 บ้านทุ่งแขม ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา

ผลการดำเนินกิจกรรมระหว่างเดือน มกราคม – สิงหาคม 2567

– แม่โคตั้งท้อง จำนวน 5 ตัว

– ได้ลูกโค จำนวน 1 ตัว เพศเมีย

– จำหน่ายมูลวัว จำนวน 90 กระสอบๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท ( เกษตรกรนำมูลวัวบางส่วนใช้ในพื้นที่การเกษตร นาข้าว สวนยางพารา เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี )